เกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
ที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention) สมัยที่ 7 ซึ่งมีขึ้นในระหว่าง วันที่ 10 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ณ ประเทศคอสตาริก้าได้รับรอง เกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบกลยุทธ์สำหรับทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar List) ดังนี้ กลุ่ม A ของเกณฑ์ พื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่เป็นตัวแทนหายากหรือมีลักษณะพิเศษ เฉพาะ เกณฑ์ 1 : พื้นที่ชุ่มน้ำหนึ่งควรได้รับพิจารณาว่ามีความสำคัญระหว่างประเทศ หากพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นประกอบด้วยประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็น ตัวแทน หายาก หรือ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งพบในเขตชีวภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม
กลุ่ม B ของเกณฑ์ พื้นที่ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
เกณฑ์เกี่ยวกับชนิดพันธุ์และชุมชนประชากรทางนิเวศ เกณฑ์ 2 : เกื้อกูล ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง หรือชุมนุมประชากรที่ถูกคุกคาม เกณฑ์ 3 : เกื้อกูล ประชากรของชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่สำคัญ สำหรับการธำรงรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพของเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่ง โดยเฉพาะ เกณฑ์ 4 : เกื้อกูล ชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่อยู่ในระยะวิกฤติหนึ่งของวงจรชีวิตของชนิดพันธุ์นั้น หรือเป็นที่อพยพมนระหว่างสภาพเสื่อมโทรม
เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับนกน้ำ เกณฑ์ 5 : ตามปกติเกื้อกูล นกน้ำ 20,000 ตัว หรือมากกว่า เกณฑ์ 6 : ตามปกติเกื้อกูล ร้อยละ 1 ของประชากรในชนิดพันธุ์หรือสายพันธุ์หนึ่งของนกน้ำ
เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับปลา เกณฑ์ 7 : เกื้อกูล สัดส่วนที่สำคัญของสายพันธุ์ ชนิดพันธุ์ หรือวงศ์ ของปลาพื้นเมือง ระยะหนึ่งของวงจรชีวิต ปฏิสัมพันธ์ของชนิดพันธุ์ และ/หรือ ประชากรที่เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ และ/หรือ คุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำและ ดังนั้นมีคุณูปการต่อความความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก เกณฑ์ 8 : เป็นแหล่งสำคัญของอาหารสำหรับปลา วางไข่ ฟูมฟักตัวอ่อนและ/หรือเส้นทางอพยพ ซึ่งปริมาณของปลาไม่ว่าภายในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือที่อื่น พึ่งพาอาศัยอยู่
พันธกรณีในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ ข้อตกลงหลักๆ ของประเทศที่เข้าร่วมในอนุสัญญาแรมซาร์ คือ ภาคีแต่ละประเทศจะต้องคัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติหรือระหว่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่ง บรรจุใน ทะเบียนรายชื่อ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ นอกจากนั้นแล้ว มาตรา 3 วรรค 1 ยังระบุให้แต่ละประเทศส่งเสริมการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีอยู่ในทะเบียนด้วย ภาคีแต่ละประเทศต้องกำหนดและวางแผนการดำเนินงาน การใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดไม่ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำจะอยู่ในทะเบียน หรือไม่ ภาคีแต่ละประเทศสามารถทำการปรึกษากับภาคีอื่นๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ตาม พรมแดนระหว่างประเทศมีการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกัน และมีการพัฒนาความช่วยเหลือสำหรับโครงการพื้นที่ชุ่มน้ำ ภาคีแต่ละประเทศต้องสนับสนุนเงินช่วยเหลือแกอนุสัญญาฯ จำนวนเงินช่วยเหลือของแต่ละประเทศขึ้นกับการแบ่งตาม UN Scale ซึ่งสำหรับประเทศไทยต้องบริจาคประมาณ 11,692 ฟรังค์สวิส (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555) อ้างอิง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ทำความเข้าใจอนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญาแรมซาร์ไซต์